ผู้เขียน หัวข้อ: เลือกฉนวนกันความร้อนโรงงาน ต้องการคุณสมบัติอะไรบ้าง  (อ่าน 25 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 368
  • รับจ้างโพสต์เว็บ แพ็ครวมพิเศษ
    • ดูรายละเอียด
เลือกฉนวนกันความร้อนโรงงาน ต้องการคุณสมบัติอะไรบ้าง

ปัญหาโรงงานร้อนเกินไป ไม่ว่าเป็นเพราะความร้อนจากเครื่องจักรเข้ามาสะสม หรือความร้อนจากภายนอกทะลุเข้ามาทำให้เครื่องจักรและพนักงานทำงานลำบากมากขึ้น เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการโรงงานไม่ควรนิ่งเฉย เพราะยิ่งปล่อยไว้ก็มีแต่จะทำให้เกิดผลเสียหนักขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งความเสื่อมของเครื่องจักร ค่าไฟที่มากขึ้น และความเสี่ยงของพนักงานในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานและปัญหาสุขภาพ

นั่นเองจึงทำให้การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อนโรงงาน เป็นงานเร่งด่วนที่ควรจัดการให้เรียบร้อย แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ใช่ว่าปุบปับจะเลือก ฉนวนกันความร้อนอะไรก็ได้ เพราะยิ่งมีตัวเลือกหลากหลาย ก็แสดงว่ามีทั้งฉนวนที่ดีและไม่ดีปน ๆ กันอยู่ ซึ่งเพื่อให้โรงงานเราได้ฉนวนกันความร้อนที่ดี คุณสมบัติสำคัญที่ต้องเลือกให้มีในฉนวนนั้น มีดังต่อไปนี้


1.ค่าการนำความร้อนต้องต่ำ

อาจจะดูเป็นศัพท์เทคนิคอยู่บ้าง แต่ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ยาก โดยค่าการนำความร้อนนั้น หมายถึง คุณสมบัติในการนำความร้อนของฉนวนกันความร้อนชนิดนั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามวัสดุที่นำมาใช้ทำฉนวนกันความร้อนนั่นเอง ซึ่งยิ่งค่าการนำความร้อนของฉนวนต่ำมากแค่ไหน ก็หมายความว่าความร้อนจะถูกนำผ่านฉนวนมาได้น้อย จึงทำให้ช่วยลดความร้อนในโรงงานได้มากขึ้นนั่นเอง

โดยวัสดุ ฉนวนกันความร้อนโรงงาน ในปัจจุบันนั้นมีให้เลือกหลากหลาย อาทิ อะลูมิเนียมฟอยล์ โพลีเอธีลีนโฟม และฉนวนใยแก้ว เป็นต้น ซึ่งแต่ละวัสดุก็จะมีค่าการนำความร้อนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น ตอนเลือกซื้อฉนวนก็จำเป็นต้องสอบถามจากผู้ผลิตจำหน่ายก่อนว่า ฉนวนมีค่าการนำความร้อนเท่าไร แล้วเปรียบเทียบเลือกจากที่นำความร้อนได้ต่ำไว้เป็นดีที่สุด


2.ฉนวนกันความร้อนต้องหนามากพอ

นอกจากค่าการนำความร้อนแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ฉนวนกันความร้อนได้ดีหรือไม่นั้นก็คือ ความหนาของตัวฉนวน เพราะถ้าฉนวนบางเกินไป ความร้อนก็จะทะลุผ่านเข้ามาได้ง่ายมากขึ้น ยิ่งถ้าบางแล้วยังมีค่าการนำความร้อนสูงด้วย ก็จะยิ่งกลายเป็นว่าฉนวนนั้นอาจไม่สามารถกันความร้อนได้เลยด้วยซ้ำ ดังนั้นแล้ว ในกระบวนการเลือกฉนวนกันความร้อนโรงงาน จึงต้องไม่ดูแค่เฉพาะค่าการนำความร้อน แต่ต้องดูความหนาของเนื้อฉนวนร่วมด้วย

โดยจริง ๆ แล้วมีสูตรในการคำนวณให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่าง 2 ค่านี้อยู่ นั่นก็คือ ความหนา หารด้วย ค่าการนำความร้อน จะออกมาได้เป็น ค่า R หรือค่าการต้านทานความร้อน ซึ่งถ้ายิ่งหนามาก ๆ และตัวหารที่เป็นค่าการนำความร้อนต่ำมาก ๆ ก็จะทำให้เห็นว่า ฉนวนกันความร้อนนั้น มีค่าการต้านทานความร้อนสูง คือ กันความร้อนได้ดีนั่นเอง


3.ต้องไม่ลามไฟ

ภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นเต็มไปด้วยเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า และกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอัคคีภัยมมาก ยิ่งอยู่กับความร้อนมากด้วยแล้ว ความเสี่ยงก็ยิ่งมีมากขึ้น ดังนั้น สำหรับการเลือกฉนวนกันความร้อนโรงงาน เพื่อความปลอดภัยและเสริมประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น จึงควรเลือกฉนวนที่มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ คือ อาจลุกติดไฟได้ แต่ไม่ลามไฟไปยังส่วนอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว เพราะจะช่วยลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของธุรกิจได้มากขึ้นในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น

ซึ่ง “ฉนวนกันความร้อน ” ที่เป็นฉนวนใยแก้วนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในฉนวนที่ได้มาตรฐานการยอมรับในเรื่องนี้อย่างมาก เพราะผ่านทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E84 และ BS476
ฉนวนความร้อน


4.ต้องแยกชนิดตามพื้นที่ใช้งานให้เหมาะสม

นอกจากจะมีค่าการนำความร้อนต่ำ มีความหนาที่เหมาะสม และมีคุณสมบัติไม่ลามไฟแล้ว ฉนวนกันความร้อนโรงงานที่ดี ก็จำเป็นต้องแบ่งแยกชนิดที่เหมาะกับพื้นที่และวัตถุประสงค์การใช้งานด้วย เพราะในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น มีจุดสำคัญที่ต้องการฉนวนกันความร้อนหลายจุด อาทิ หลังคา ผนังห้องเครื่องจักร ระบบปรับอากาศ หรือบริเวณเครื่องจักรอุณหภูมิสูง ฯลฯ ซึ่งฉนวนชนิดเดียวก็อาจไม่ได้สามารถตอบโจทย์กับการใช้งานทุกที่ได้

ดังนั้น จึงควรเลือกใช้ฉนวนให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ให้ได้มากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีที่สุด อย่างเช่น ฉนวนกันความร้อน ที่มีการแบ่งชนิดของฉนวนอย่างชัดเจนตามลักษณะการใช้งาน เช่น ฉนวนกันความร้อน สำหรับงานหลังคา ฉนวนกันความร้อน สำหรับงานฝ้าเพดาน และผนัง ฉนวนกันความร้อนสำหรับงานระบบปรับอากาศ และฉนวนกันความร้อน สำหรับงานทนอุณหภูมิสูง เป็นต้น

การไม่ติดตั้งฉนวนความร้อนโรงงาน ถือเป็นความเสี่ยงที่หนักแล้วสำหรับผู้ประกอบการ แต่การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ไม่มีคุณภาพให้กับโรงงาน อาจถือเป็นความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่กว่า เพราะทำให้เสียงบประมาณในการดำเนินงานถึง 2 ต่อ คือลงทุนติดตั้งแล้ว ต้องมาตามแก้ปัญหาการติดตั้งใหม่ภายหลังอีก

ดังนั้น ในการวางแผนแก้ไขปัญหาความร้อนสะสมภายในโรงงานนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาอย่างเข้าใจ และขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาความร้อนสะสมในโรงงานโดยตรง เพื่อให้ได้ทางออกที่ตอบโจทย์และเหมาะกับการใช้งานของโรงงานเราให้ได้มากที่สุด