ผู้เขียน หัวข้อ: หมอออนไลน์: หิด (Scabies)  (อ่าน 51 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 278
  • รับจ้างโพสต์เว็บ แพ็ครวมพิเศษ
    • ดูรายละเอียด
หมอออนไลน์: หิด (Scabies)
« เมื่อ: วันที่ 8 ธันวาคม 2024, 13:53:32 น. »
หมอออนไลน์: หิด (Scabies)

หิด เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากตัวหิด

โรคนี้พบได้บ่อยในคนทุกวัย มักพบเป็นพร้อมกันหลายคนในบ้าน

บางครั้งอาจพบระบาดตามวัด โรงเรียน โรงงาน กองทหาร ทัณฑสถาน

ความยากจน ความสกปรก และการอยู่กันแออัด เป็นปัจจัยสำคัญของการระบาดของโรคนี้

หิด

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อหิดซึ่งเป็นตัวไรเล็ก ๆ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นจุดขาวเล็ก ๆ มีชื่อว่า Sarcoptes scabiei ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวแก่มี 8 ขา ตัวเมียเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะขุดรูอยู่ใต้ผิวหนังชั้นนอกสุด (ชั้น stratum corneum) และวางไข่วันละ 1-3 ฟอง จนวางครบ 25 ฟอง ก็จะตายไป ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนใน 3-4 วัน และอาศัยอยู่ในรูขุมขน ทำให้มีตุ่มแดงตรงรูขุมขนและมีอาการคัน ตัวหิดสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายของคนเรา (ที่อุณหภูมิห้อง) ได้ 2-3 วัน

สามารถติดต่อได้ง่าย โดยการสัมผัสหรือใช้ของร่วมกัน

บางรายอาจติดต่อโดยการร่วมเพศ ทำให้เกิดตุ่มคันตรงบริเวณอวัยวะเพศ จึงถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง


อาการ

ผู้ป่วยจะมีตุ่มน้ำใสและตุ่มหนอง คัน ขึ้นกระจายเหมือนกันทั้ง 2 ข้างของร่างกาย มักจะพบที่ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อศอก รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ก้น ข้อเท้า อวัยวะเพศ (ในเด็กอาจขึ้นที่หน้าและศีรษะ ส่วนในผู้ใหญ่มักไม่ขึ้นในบริเวณนี้)

บางรายอาจพบเป็นผื่นนูนแดงคดเคี้ยว ขนาดเท่าเส้นด้าย ยาวประมาณ 2-3 มม. ซึ่งตรงปลายสุดจะเป็นที่อยู่ของตัวหิด

ผู้ป่วยมักจะมีอาการคันมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน

บางรายอาจเกาจนมีเชื้อแบคทีเรียอักเสบซ้ำเติม เป็นตุ่มหนองพุพองหรือน้ำเหลืองไหล


ภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยมักเกาจนกลายเป็นแผลพุพอง และถ้าติดเชื้อบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเออาจกลายเป็นหน่วยไตอักเสบแทรกซ้อนได้

เด็กบางรายอาจคัน จนนอนไม่พอ กินไม่ได้ และน้ำหนักลด


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ถ้าไม่แน่ใจ แพทย์จะขูดเอาเศษเนื้อเยื่อตรงรอยโรคไปตรวจดูตัวหรือไข่ของไร (หิด) ทางห้องปฏิบัติการ


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ใช้ยาฆ่าหิด เช่น เบนซิลเบนโซเอตชนิด 25% โดยอาบน้ำถูสบู่ (ใช้ผ้าขนหนู หรือแปรงนุ่มขัดถูด้วยยิ่งดี) และเช็ดตัวให้แห้งก่อน แล้วจึงทายาทั่วทุกส่วนของร่างกายนับตั้งแต่คอลงมาโดยตลอด รวมทั้งผิวหนังส่วนที่ปกติด้วย พอครบ 24 ชั่วโมงให้ทาซ้ำอีกครั้ง ระหว่างนี้อย่าเพิ่งอาบน้ำและล้างมือ (ถ้าจำเป็นต้องล้างมือ ต้องทายาซ้ำหลังเช็ดมือให้แห้ง) จนกว่าจะครบ 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่ทายาครั้งแรก จึงอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัวและผ้าปูที่นอนใหม่ทั้งหมด ถ้ายังไม่หายขาด ให้ทำซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา

2. ถ้ามีตุ่มหนองพุพองหรือน้ำเหลืองไหล ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไดคล็อกซาซิลลินหรืออีริโทรไมซิน และให้การดูแลรักษาแบบแผลพุพอง ควรให้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 10 วัน


การดูแลตนเอง

ถ้ามั่นใจหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหิด ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    ใช้ยารักษาหิดเหา - เบนซิลเบนโซเอตชนิด 25% โดยอาบน้ำถูสบู่ (ใช้ผ้าขนหนู หรือแปรงนุ่มขัดถูด้วยยิ่งดี) และเช็ดตัวให้แห้งก่อน แล้วจึงทายาทั่วทุกส่วนของร่างกายนับตั้งแต่คอลงมาโดยตลอด รวมทั้งผิวหนังส่วนที่ปกติด้วย พอครบ 24 ชั่วโมงให้ทาซ้ำอีกครั้ง ระหว่างนี้อย่าเพิ่งอาบน้ำและล้างมือ (ถ้าจำเป็นต้องล้างมือ ต้องทายาซ้ำหลังเช็ดมือให้แห้ง) จนกว่าจะครบ 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่ทายาครั้งแรก จึงอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัวและผ้าปูที่นอนใหม่ทั้งหมด ถ้ายังไม่หายขาด ให้ทำซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา


ควรปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลา
    มีไข้ หรือเกิดแผลพุพองตรงบริเวณรอยโรค
    ใช้ยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
    มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง

การป้องกัน

    อย่าสัมผัสใกล้ชิด หรือนอนบนเตียงด้วยกันกับผู้ป่วย
    อย่าใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ป่วย


ข้อแนะนำ

1. ควรรักษาทุกคนในบ้านที่เป็น หรือสงสัยติดโรคพร้อมกัน

2. เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนอนที่ผู้ป่วยใช้ ควรซักให้สะอาด (ด้วยน้ำและผงซักฟอกธรรมดา) และผึ่งแดดทุกวันจนกว่าจะหาย

3. ผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น และพยายามอย่าเกาเพราะอาจลามไปที่อื่นได้ง่าย

4. ควรแยกเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว เครื่องนอนต่างหาก อย่าใช้ปะปนกับผู้อื่น รวมทั้งอย่านอนรวมกับคนอื่น เพื่อป้องกันการแพร่โรคให้คนอื่น