การใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง เป็นการนำสายยางให้อาหารเจาะผ่านทางหน้าท้องเพื่อที่จะได้ให้อาหารผู้ป่วยได้ ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง และเป็นวิธีนี้ที่ง่าย สะดวก รวดเร็วและผู้ป่วยไม่ต้องเสี่ยงต่อการผ่าตัดใหญ่ เพราะขนาดแผลบริเวณหน้าท้องที่ทำการเจาะเพื่อนำสายยางให้อาหารเข้าไป จะยาวเพียง 0.5 เซนติเมตรเท่านั้น ทั้งยังเป็นวิธีที่ให้อาหารโดยการส่งตรงไปยังกระเพาะอาหารเลย
ซึ่งวิธีดังกล่าวผู้ป่วยจะได้ไม่ทรมาน หรือเจ็บปวดเวลาที่ต้องนำสายยางให้อาหารสอดเข้าผ่านรูจมูก และยังไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองของอวัยวะต่างๆภายในที่สายยางให้อาหารผ่านเข้าไปด้วย อย่างไรก็ตามการให้อาหารทางสายยางนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยผู้ดูแลจะต้องเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการให้อาหารให้พร้อมและครบถ้วน ทำความสะอาดทุกครั้งก่อนการให้อาหารทางสายยาง ทั้งนี้ผู้ป่วยเองก็จะต้องเตรียมตัวเช่นเดียวกัน เพื่อให้มีความพร้อมและความปลอดภัยในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
โดผู้ป่วยจะต้องมีการเตรียมตัว โดยผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยางให้อาหารทางบริเวณหน้าท้องจะต้องงดอาหารและน้ำดื่มก่อนการให้อาหารทางสายยางประมาณ 6 -8 ชั่วโมง งดรับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น Plavix Coumadin หรือ Aspirin เป็นเวลา 7 วันก่อนทำการใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง ซึ่งข้อห้ามดังกล่าวแพทย์หรือผู้ดูแลจะทำการแจ้งผู้ป่วยก่อนอยู่แล้ว รวมไปถึงจะมีการแจ้งรายละเอียดต่างให้ผู้ป่วยทราบก่อนทำการใส่สายยางให้อาหาร และขั้นตอนในการใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้องนั้น ผู้ป่วยจะได้รับยาชาโดยการอมและพ่นในคอ หรือบางกรณีอาจจะให้ยาสลบทางหลอดเลือดดำหรือการดมยาสลบ
ซึ่งจะขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแล้วแต่กรณี แพทย์จะใส่กล้องส่องกระเพาะอาหารเข้าไปในปากผ่านหลอดอาหารสู่กระเพาะอาหาร และฉีดยาชาที่หน้าท้องเพื่อเจาะใส่สายให้อาหารซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 – 45 นาที ต่อมาหลังจากที่แพทย์ใส่สายยางให้อาหารผ่านทางหน้าท้องแล้ว ผู้ป่วยต้องงดอาหารประมาณ 1 – 3 วัน และเมื่อแผลที่ได้รับการเจาะกระเพาะอาหารสมานตัวกันดีแล้ว แพทย์จะเริ่มให้อาหารทางหน้าท้อง ซึ่งผู้ดูแลจะต้องคอยหมั่นสังเกตและดูแลรักษาความสะอาดของบาดแผลที่ได้ทำการเจาะให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะไม่อย่างนั้นแผลอาจจะเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้ ถึงแม้ว่าจะมีแผลที่เล็กมาก แต่ความสะอาดของผู้ป่วยและบาดแผล ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
โดยการทำความสะอาดแผลรูเปิดและใต้แป้นสายสวน ใช้น้ำยาเบตาดีน และปิดผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ วันละ 2 ครั้ง (เช้า – เย็น) และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เมื่อแผลแห้งดีแล้ว ให้ใช้น้ำเกลือล้างแผล หรือ น้ำต้มสุก ทำความสะอาดแผลและใต้แป้นสายสวนให้สะอาด เช็ดให้แห้ง และปิดผ้าก๊อซไว้ หลังจากที่ใส่สายยางให้อาหารผ่านทางหน้าท้องและแผลสมานตัวกันดีแล้ว ในเรื่องของสายยางให้อาหารที่บริเวณหน้าท้องก็ต้องดูแลรักษาความสะอาดเช่นเดียวกัน ผู้ดูแลควรจะทำความสะอาดสายยางให้อาหารด้านนอกและข้อต่อด้วยสบู่และน้ำสะอาด
ส่วนสายสวนชนิดระดับผิวหนังใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำสะอาดเช็ด ห้ามหักหรือพับงอสายให้อาหารนานเกินไป อาจทำให้สายแตกหักหรือพับงอ ทำให้เกิดการอุดตันได้ และกรณีใช้สายยางให้อาหารทางหน้าท้องชนิดลูกโป่ง ควรหมั่นตรวจสอบว่าตำแหน่งของสายที่ระดับผิวหนังอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เนื่องจากสายอาจเลื่อนเข้าไปในกระเพาะมากเกินไป อาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้ ต้องดูแลให้ระดับบ่าท่อที่อยู่ทางหน้าท้องอยู่ที่ขีด 6 เซนติเมตร และควรหมุนตัวสายทุก 2 – 3 วัน เพื่อป้องกันการฝังตัวของหัวเปิดในช่องกระเพาะอาหาร และที่สำคัญไม่ควรใช้อาหารที่มีความร้อนเพราะจะทำให้อายุการใช้งานของสายยางลดน้อยลง ซึ่งปกติจะใช้ได้นาน 6 – 8 เดือน หากสายยางให้อาหารเกิดบวมหรือหมดสภาพแล้ว ผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายยางให้อาหารทันที
การเตรียมตัว ก่อนให้อาหารสายยางทางหน้าท้อง ! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/