ผู้เขียน หัวข้อ: “ป่วยเป็นโควิด 19” ตอนนี้คุณอยู่ในระดับไหน? ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว-เหลือง-แดง หมายถ  (อ่าน 47 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 225
  • รับจ้างโพสต์เว็บ แพ็ครวมพิเศษ
    • ดูรายละเอียด
“ป่วยเป็นโควิด 19” ตอนนี้คุณอยู่ในระดับไหน? ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว-เหลือง-แดง หมายถึงอะไร?

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งระดับอาการผู้ป่วยโควิด ตามระดับอาการป่วยออกเป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง เพื่อการดูแลและรักษาอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

🟢 สีเขียว คือ ผู้ป่วยอาการไม่มาก หรือไม่มีอาการ หรืออาการน้อยๆ เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น ไม่มีโรคร่วม พักรักษาที่โรงพยาบาลสนาม หรือฮอสพิเทล (Hospitel)

🟡 สีเหลือง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1000

🔴 สีแดง คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอกซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือลดลงของออกซิเจนมากกว่า 3% หลังออกแรง ของค่าที่วัดได้ในครั้งแรกที่ออกแรง


โควิดลงปอด อาการเป็นอย่างไร? ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อโควิดลงปอด

โควิดลงปอด อาการเป็นอย่างไร?
สังเกตอาการเชื้อโควิดลงปอดแล้วหรือยัง

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 หลายคนคงสงสัยว่าตนเองมีอาการอยู่ในกลุ่มไหน? อาการหนักหรือไม่? มีภาวะเชื้อไวรัสลงปอดหรือยัง? นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤติบำบัด สหรัฐอเมริกา ได้แนะนำวิธีเช็กอาการโควิดลงปอด ดังนี้

    เดินไปมา ลุกยืนหรือลุกนั่ง 3 ครั้ง หรือ กลั้นหายใจ 10 – 15 วินาที หากทำแล้วเหนื่อย และวัดออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94 ลงไป ให้สงสัยว่าเชื้อโควิดลงปอดไว้ก่อน
    นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤติบำบัด สหรัฐอเมริกา


ดูแลตนเองอย่างไร? เมื่อเชื้อโควิด-19 ลงปอด!

หากทราบว่าตนเองเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จะดูแลตนเองอย่างไรในระหว่างที่รอเตียง? นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤติบำบัด สหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำในการดูแลตนเองระหว่างที่รอเตียง โดยควรปฏิบัติดังนี้

แนะนำให้ “นอนคว่ำ” ระหว่างรอเตียง

    การนอนคว่ำ เพื่อให้ปอดไม่มีการกดทับ และทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยวิธีการนอนคว่ำให้กอดหมอนไว้ที่หน้าอก เพื่อให้นอนสบายขึ้น
    ผู้ป่วยบางคน หากนอนคว่ำไม่ได้ หายใจไม่ออก ให้นอนกึ่งตะแคงกึ่งคว่ำ 45 องศามาทางเตียง
    กรณีที่ตั้งครรภ์ให้นอนตะแคงด้านซ้าย เพราะจะทำให้น้ำหนักของมดลูกไม่ไปกดเส้นเลือดดำใหญ่ ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก


ขยับขาบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
พยายามเคลื่อนไหวขาบ่อยๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียน และป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เช่น ยืดงอขา หรือยืดเหยียดปลายเท้า เป็นต้น

ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารให้เพียงพอ

    ควรดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 2 – 2.5 ลิตรต่อวัน แต่อย่าดื่มมากเกินไปเพราะจะส่งผลเสียทำให้เกลือแร่ในร่างกายเจือจางลง
    หากยังสามารถรับประทานอาหารได้ ให้พยายามรับประทานให้เพียงพอ
    ในกรณีที่รับประทานอาหารไม่ได้เลย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทน


รับประทานยาประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ

    ไม่ควรงดการรับประทานยาประจำตัว อย่าขาดยา
    หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาขับปัสสาวะอยู่ แล้วดื่มน้ำไม่ได้ ตรงนี้ให้งดยาไปก่อน
    หากรับประทานยาโรคความดันโลหิตสูงอยู่ ควรวัดความดันบ่อยๆ ถ้าพบว่าความดันต่ำกว่า 90/60 ควรงดยาความดันโลหิตสูง เพราะเราไม่ต้องการให้ความดันต่ำไปกว่านั้น ถ้าความดันต่ำมากจะอันตราย อาจช็อกหรือหมดสติได้
    หากรับประทานยาโรคเบาหวานอยู่ ควรตรวจน้ำตาลสม่ำเสมอๆ ตรวจ 4 เวลาแล้วจดไว้ ถ้าพบว่าน้ำตาลต่ำประมาณ 100 และทานอาหารไม่ได้ ทานได้น้อย ควรงดฉีดอินซูลิน หรืองดยากลุ่มที่ลดน้ำตาลในเลือด เพราะถ้ามีภาวะน้ำตาลต่ำในขณะที่ป่วยโควิดจะเป็นอันตรายได้


เตรียมยาพาราเซตามอล ไว้รับประทานเวลามีไข้

    ถ้ามีไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอลเท่านั้น หากเริ่มมีไข้ต่ำๆ ให้รับประทานพาราฯ ได้เลย อย่ารอให้ไข้สูงหรือหนาวสั่น เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายอ่อนแอ *แต่ไม่แนะนำให้รับประทานยาลดไข้กลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen, naproxen, mefenamic acid (Ponstan), diclofenac (Voltaren) เพราะอาจทำให้ไตวายได้*
    ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร/กระชายขาว รับประทานได้แต่ต้องทานตามปริมาณกำหนดของกรมการแพทย์แผนไทย *หากทานเกินปริมาณกำหนดอาจทำให้ตับวายได้*
    ส่วนผู้ป่วยโรคตับ ห้ามรับประทาน เพราะอาจทำให้ตับวายได้ หรือผู้ที่แพ้ยาพาราเซาตามอล แนะนำให้เช็ดตัวเพื่อลดไข้


ถ้าเหนื่อยมาก อย่าเข้าห้องน้ำ

    หากมีอาการเหนื่อยมาก อย่าไปเข้าห้องน้ำ เพราะการเบ่งถ่าย และลุกนั่งอาจทำให้เป็นลมหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้นได้ ควรขับถ่ายบริเวณข้างเตียงเลยดีที่สุด ใช้กระโถน กระดาษ หรืออะไรที่หาได้
    หากจำเป็นจะเข้าห้องน้ำ ห้ามล็อกประตูเด็ดขาด และควรบอกคนอื่น ๆ ในครอบครัวด้วย เนื่องจากมีหลายรายที่เหนื่อยแล้วไปเข้าห้องน้ำ เกิดเป็นลมและหัวใจหยุดเต้น

หมั่นติดต่อญาติ ครอบครัว หรือคนใกล้ชิดอย่างสม่ำเสมอ