ผู้เขียน หัวข้อ: จัดฟันบางนา: ปวดฟัน! ถอนหรือรักษารากฟันดี ? ไขข้อสงสัย  (อ่าน 138 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 226
  • รับจ้างโพสต์เว็บ แพ็ครวมพิเศษ
    • ดูรายละเอียด
หลายคนที่กำลังทรมานกับอาการปวดฟัน อาจลังเลว่าเราควรเลือกรักษาด้วยวิธีไหน ให้หายขาดและดีต่อสุขภาพช่องปากมากที่สุด อย่างการรักษารากฟัน ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้เราสามารถเก็บรักษาฟันไว้ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ต้องมาพบคุณหมอหลายครั้ง และใช้ระยะเวลาพอสมควร ส่วนการถอนฟัน อาจเป็นวิธีที่ง่ายกว่า เร็วกว่า จบในครั้งเดียว และประหยัดกว่า แต่ก็ต้องแลกกับการสูญเสียฟันธรรมชาติไป ในบทความนี้จะมาไขข้อสงสัยว่า เราควรเลือกรักษาอาการปวดฟันด้วยวิธีไหน ถึงจะตรงกับสาเหตุที่เราเป็นและให้ผลดีที่สุด


สาเหตุการปวดฟันของเราเกิดจากอะไร

ก่อนจะเริ่มการรักษา คุณหมอต้องทราบก่อนว่าอาการปวดฟันของเราเกิดจากอะไร เนื่องจากสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน ก็อาจมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปด้วย โดยสาเหตุของอาการปวดฟันที่เจอได้บ่อย ได้แก่

    ฟันผุถึงโพรงประสาท
    ฟันแตก ฟันร้าว
    โรคเหงือก

เมื่อคุณหมอวินิจฉัยหาสาเหตุได้แล้ว ก็จะหาแนวทางรักษาที่เหมาะกับแต่ละเคสต่อไป เรามาดูกันว่าอาการปวดฟันที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ ที่ว่ามานี้ มีวิธีการรักษายังไงบ้าง
ปวดฟันเกิดจากอะไร


1. ฟันผุถึงโพรงประสาท

ฟันผุถึงโพรงประสาทฟัน หรือเรียกง่ายๆ ว่าฟันผุลึก มักเกิดจากการปล่อยให้ฟันผุมาเนิ่นนานแล้วไม่รีบรักษา จนเชื้อโรคแทรกซึมเข้าไปยังโพรงฟัน ทำให้เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันอักเสบ และเกิดอาการปวดฟันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเวลาที่เคี้ยวอาหาร มีเศษอาหารมาติดในรูฟันผุ รับประทานของร้อน ของเย็น หรือมีอะไรมาโดนฟัน และหากเรายังปล่อยไว้ เชื้อโรคก็อาจเข้าไปยังปลายรากฟัน ทำให้ปลายรากฟันติดเชื้อเป็นหนอง หรือลุกลามไปยังฟันซี่อื่นๆ และอวัยวะข้างเคียงได้
การรักษาฟันผุถึงโพรงประสาท

สำหรับอาการปวดฟันที่เกิดจากฟันผุลึก ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการรักษารากฟัน ซึ่งขั้นตอนคร่าวๆ ก็ได้แก่ การทำความสะอาดโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อ หากมีการติดเชื้อถึงปลายรากฟันก็ต้องขูดเอาเส้นประสาทที่ติดเชื้อออกด้วย จากนั้นจึงอุดซ่อมแซมคลองรากฟันเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาอีก ซึ่งต้องนัดหมายมารักษา 2-3 ครั้ง ทั้งนี้ ถ้าฟันผุเสียหายมากจนเนื้อฟันเหลือน้อย คุณหมอก็อาจพิจารณาให้ทำครอบฟันสวมทับเพื่อให้ฟันแข็งแรง ไม่แตกหักง่ายในอนาคต


2. ฟันแตก ฟันร้าว

ฟันแตก ฟันร้าว เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดฟันรุนแรงได้ เนื่องจากโพรงประสาทฟันจะเปิดเผยสู่ภายนอกผ่านรอยร้าวนั้น พอเราดื่มน้ำร้อน น้ำเย็น หรือเคี้ยวอาหาร ก็มักทำให้เกิดอาการเสียวฟันและปวดฟันตามมา โดยสาเหตุของฟันแตก ฟันร้าว เกิดจากการเคี้ยวของที่แข็งเกินไป การนอนกัดฟันบ่อยๆ หรือเกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งมักเกิดกับฟันกรามใหญ่หรือฟันกรามน้อย และคนไข้มักมีอาการปวดฟันแบบเป็นๆ หายๆ แต่หากรอยแตกร้าวนั้นลึกมาก คนไข้ก็อาจรู้สึกปวดฟันอยู่ตลอด และอาจกลายเป็นสาเหตุที่ต้องถอนฟันได้


การรักษาฟันแตก ฟันร้าว

การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรง ขนาด ความลึก และลักษณะของรอยแตกร้าว รวมถึงอาการของคนไข้ โดยแนวทางการรักษาทั่วไป มีดังนี้

-    หากรอยแตกร้าวมีขนาดเล็ก และไม่ได้ทำให้เกิดอาการปวดรุนแรง คุณหมออาจรักษาด้วยการเคลือบหรืออุดฟัน เพื่อซ่อมแซมฟันที่แตกร้าว และป้องกันไม่ให้รอยมีขนาดใหญ่ขึ้น
-    หากรอยร้าวมีขนาดค่อนข้างใหญ่ หรือรักษาด้วยการอุดฟันแล้วไม่ได้ผล คุณหมอจะแนะนำให้ทำครอบฟันทับฟันซี่ดังกล่าว โดยอาจให้สวมครอบฟันชั่วคราวเพื่อดูอาการก่อนประมาณ 1 เดือน จากนั้นจึงนัดมาทำครอบฟันถาวร
-    หากรอยแตกลึกถึงโพรงประสาทฟัน หรือมีการอักเสบในโพรงฟันด้วย คุณหมออาจทำการรักษารากฟัน แล้วตามด้วยการครอบฟันถาวร
-    ในกรณีที่เนื้อฟัน เส้นประสาทในฟัน หรือรากฟันเสียหายอย่างรุนแรง จนไม่สามารถบูรณะฟันได้ อีกทั้งคนไข้มีอาการปวดฟันหนักมาก ก็อาจจำเป็นต้องถอนฟันออกไปเป็นวิธีสุดท้าย


3. โรคเหงือก หรือโรคปริทันต์

โรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการปวดฟันที่เจอได้ค่อนข้างบ่อย โดยโรคเหงือกอักเสบมักเกิดจากการดูแลสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีพอ ทำให้มีการสะสมของคราบหินปูนและแบคทีเรียจำนวนมาก ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะปล่อยกรดและสารที่กระตุ้นการอักเสบออกมา นอกจากนี้ ความเครียด พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปัญหาสุขภาพบางอย่าง ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเหงือกอักเสบได้เช่นเดียวกัน

นอกเหนือจากอาการปวดฟันแล้ว อาการอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่าเราอาจเข้าข่ายเป็นโรคเหงือกอักเสบ ได้แก่

    มีเลือดออกขณะแปรงฟัน
    เหงือกแดง บวม หรือนุ่มขึ้น
    เหงือกร่น จนทำให้ฟันดูยาวขึ้น หรือเหมือนมีร่องระหว่างเหงือกและฟัน
    ฟันเริ่มโยกเวลาเคี้ยวอาหาร
    มีกลิ่นปาก
    มีหนองไหลออกมาจากร่องเหงือก

คำแนะนำ: โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา ก็อาจทำให้ฟันหลุดออกจากกระดูกเบ้าฟัน และเป็นสาเหตุของการสูญเสียฟันได้


การรักษาโรคเหงือก

โรคเหงือกอักเสบ จะต้องทำการรักษากับทันตแพทย์เฉพาะทางด้านโรคเหงือก หรือปริทันตแพทย์ โดยวิธีการรักษาก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ซึ่งแนวทางการรักษาทั่วไป ได้แก่

    การเกลารากฟันและขูดหินปูน เพื่อขจัดคราบพลัคออกจากฟันและร่องเหงือก ซึ่งจะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียได้
    การผ่าตัดเปิดร่องเหงือกเพื่อทำความสะอาด มักทำในคนไข้ที่อาการของโรคค่อนข้างรุนแรง
    การศัลยกรรมปลูกเหงือก ทำเพื่อเพิ่มความหนาของเหงือกที่ร่นหรือเสียหาย โดยจะใช้เนื้อเยื่อจากบริเวณอื่นในช่องปากมาปลูก
    การผ่าตัดตกแต่งเหงือก มักทำร่วมกับการทำครอบฟัน เพื่อตกแต่งเหงือกและฟันที่เสียหายให้กลับมาสวยงาม



จัดฟันบางนา: ปวดฟัน! ถอนหรือรักษารากฟันดี ? ไขข้อสงสัย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/category/จัดฟันบางนา/